เมื่อประมาณ 4-5 ปี มาแล้วมีลูกศิษย์ที่มีความชำนานในการปลูกผักคนหนึ่งโทรมาขอคำปรึกษาเนื่องจากผักที่ฟาร์มของเขามีอาการใบเหลืองก่อนที่จะเขียนต่อผมจะให้ดูสูตรปุ๋ยที่เราใช้อยู่เมื่อก่อน คือ
ปุ๋ย A ประกอบด้วย
แคลเซี่ยมในเตรท(แบบแคลไนหรือปุ๋ยแฉะ) 1,100 กรัม
เหล็ก EDDHA 50 กรัม
เหล็ก DTPA 50 กรัม
ปุ๋ย B ประกอบด้วย
โปแตสเซี่ยมไนเตรท 600 กรัม
แมกนิเซี่ยมซัลเฟต 600 กรัม
โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต 270 กรัม
นิกสเปร์ย 50 กรัม
นิเกิล 0.5 กรัม
แอมโมเนี่ยมโมลเดท 0.5 กรัม
แต่ลูกศิษย์ผมเขาประหยัดเลยไม่ใช้เหล็ก EDDHA แต่ใช้เพียงเหล็ก DTPA อย่างเดียวเพราะเขาสามารถคุม pH ได้โดยไม่ให้เกิน 7.0 และเพิ่มเหล็ก DTPA จาก 50 กรัมเป็น 70 กรัม ผมได้ถามข้อมูลต่างๆจากเขาและเขาให้ข้อมูลว่ามีตะกอนเหมือนเม็ดทรายอยู่ที่ก้นถังของปุ๋ย A ซึ่งน่าจะเป็นเหล็ก DTPA นั่นเอง
ผมก็เลยผสมปุ๋ยตามเขาโดยไม่ใส่เหล็ก EDDHA และก็พบการตกตะกอนของเหล็ก DTPA ที่ก้นถังเป็นจำนวนมาก ส่วนปุ๋ยของผมที่ใช้ปลูกผักอยู่ก็น่าจะมีการตกตะกอนเหมือนของเขาแต่เหล็ก EDDHA มีสีแดงจัดจึงทำให้ไม่เห็นการตกตะกอนและถ้าไม่มีเหล็ก EDDHA ผักของผมก็คงจะมีอาการใบเหลืองเหมือนผักเขา
จากนั้นผมได้โทรไปหา อาจารย์ยงยุทธเล่าอาการให้ฟังแล้วอาจารย์ยงยุทธก็ทำการผสมปุ๋ยตามที่ผมบอกและก็พบอาการตกตะกอนเหมือนกัน และอาจารย์ได้วิเคราะห์และตอบมาว่ามันเกิดการแย่งคีเลทกัน
โดยเหล็ก DTPA เป็นเหล็กที่มีคีเลทหุ้มอยู่ปรกติจะไม่ตกตะกอน แต่เมื่อถูกแคลเซียมไนเตรทแย่งคีเลทไปจึงทำให้เหล็ก DTPA ตกตะกอน
ดังนั้นอาจารย์ยงยุทธจึงได้แนะนำให้ผสมปุ๋ยเป็น ABC เพื่อไม่ให่เกิดเหตุการณ์ดังที่กล่าวมาแล้วส่วนปุ๋ย A ที่ใช้แคลเซี่ยมไนเตรท แบบอมเนี่ย(เม็ดสาคู)ผสมเป็น AB ได้เพราะเราไม่พบการแย่งคีเลทกันและไม่พบอาการตกตะกอน
อ.อรรถพร สุบุญสันต์